วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พิษภัยของยาเสพติด

พิษภัยของยาเสพติด
 โทษและพิษภัยของสารเสพย์ติด
.....เนื่องด้วยพิษภัยหรือโทษของสารเสพติดที่เกิดแก่ผู้หลงผิดไปเสพสารเหล่านี้เข้า ซึ่งเป็นโทษที่มองไม่เห็นชัด เปรียบเสมือนเป็นฆาตกรเงียบ ที่ทำลายชีวิตบุคคลเหล่านั้นลงไปทุกวัน ก่อปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสุขภาพ ก่อความเสื่อมโทรมให้แก่สังคมและบ้านเมืองอย่างร้ายแรง เพราะสารเสพย์ติดทุกประเภทที่มีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อร่างกายในระบบประสาท สมอง ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการของร่างกายและชีวิตมนุษย์ การติดสารเสพติดเหล่านั้นจึงไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นแก่ร่างกายเลย แต่กลับจะเกิดโรคและพิษร้ายต่างๆ จนอาจทำให้เสียชีวิต หรือ เกิดโทษและอันตรายต่อครอบครัว เพื่อนบ้าน สังคม และชุมชนต่างๆ ต่อไปได้อีกมาก
.....โทษทางร่างกาย และจิตใจ
1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย
2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ
4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน
5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก
6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา
7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม
.....โทษพิษภัยต่อครอบครัว
1. ความรับผิดชอบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องจะหมดสิ้นไป ไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัว
2. ทำให้สูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ที่จะต้องหามาซื้อสารเสพติด จนจะไม่มีใช้จ่ายอย่างอื่น และต้องเสียเงินรักษาตัวเอง
3. ทำงานไม่ได้ขาดหลักประกันของครอบครัว และนายจ้างหมดความไว้วางใจ
4. สูญเสียสมรรถภาพในการหาเลี้ยงครอบครัว นำความหายนะมาสู่ครอบครัวและญาติพี่น้อง

การป้องกันการติดยาเสพติด
การป้องกันตนเอง
1. ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกวิธี และเหมาะสมกับการเจ็บป่วย
2. ไม่ทดลองเสพสิ่งเสพติดทุกชนิด หรือเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะติดง่าย เลิกยาก และมี
อันตรายต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
3. การคบเพื่อนควรเลือกคบเพื่อนที่ดี หลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
4. ควรรู้จักใช้ความคิด และใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้
ด้วยตนเอง ควรปรึกษา พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ หรือญาติผู้ใหญ่ที่สนิทและไว้วางใจมาช่วยแก้ไขปัญหา
5. รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์


........การป้องกันสำหรับครอบครัว
1. แนะนำตักเตือนให้ความรู้ แก่สมาชิกในครอบครัวให้เกิดความตระหนักถึงโทษ พิษภัย
ของยาเสพติด
2. สอดส่องดูแลสมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าติดยาให้รีบนำไปบำบัดรักษา
ทันที
3. กรณีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรไปปรึกษาแพทย์
4. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูก และเป็นที่ปรึกษาแก่ ลูก และ
สมาชิกในครอบครัวได้
5. พ่อแม่ ควรให้ความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ในการอบรมเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดกับลูก
พิษของยาเสพติดจะแตกต่างกันไปดังนี้
1พิษของยาบ้า และยาอีจะคล้ายคลึงกัน ส่วนยาเคนั้น จะแตกต่างออกไป อย่างไรก็ดีข้อมูล เรื่องของยาอีและยาเค ยังมีจำกัด
2การใช้โดยการฉีด ทำให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบบริเวณที่ฉีด และเป็นหนทาง ติดโรคเอดส์ได้
3ในกรณีที่ใช้ยาบ้าในขนาดสูง ในระยะเฉียบพลันจะทำให้ตัวร้อน เหมือนเป็นไข้ เหงื่อแตกพลั่ก ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด ตาพร่า มึนงง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดสูงฉับพลัน ตัวสั่น ควบคุมร่างกายไม่ได้ ชัก หมดสติ ในบางรายอาจเสียชีวิต จากเส้นเลือด ในสมองแตก หัวใจวาย การชัก หรือตัวร้อนจัด
4ถ้าหากใช้ยาต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ยาบ้าทำให้เกิด ความผิดปกติทางจิต คล้ายกับคนบ้า ชนิดหวาดระแวง (Paranoid) และอาจก่อความรุนแรง หรืออาชญากรรมได้ ร่างกายจะทรุดโทรม อ่อนแอ เนื่องจากขาดอาหา รและขาดการพักผ่อน ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ ในบางครั้ง ผู้ที่ใช้ยาบ้า อาจจะทำงานหนักเกิน จนร่างกายรับไม่ไหว เกิดการบาดเจ็บหรือทุพลภาพได้
5ยาอีมีพิษเฉียบพลัน คล้ายยาบ้ารวม ได้แก่ เกิดความปรวนแปร ทางจิตอารมณ เช่น วิตกกังวลรุนแรง ซึมเศร้า ความคิดหวาดระแวง และที่สำคัญคือ ประสาทหลอน อาการพิษ ทางกายได้แก่ กล้ามเนื้อเกร็งตัว คลื่นไส้ ตาพร่า เป็นลม หนาวสั่น เหงื่อแตก
6จากผลการทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าทั้งยาบ้า และยาอี ทำลายเซลประสาทบางชนิด ทำให้สมองเสื่อมอย่างถาวร และเกิดความบกพร่อง ในการทำงาน ของร่างกายส่วนที่สมอง บริเวณนั้นควบคุม เช่น อารมณ์ การนอนหลับ การหลับนอน (ความสามารถทางเพศ) การรับรู้ความเจ็บปวด เป็นต้น
7นอกจากนั้นยังเชื่อว่า ยาบ้าและยาอี มีผลพิษต่อตัวอ่อนด้วย โดยพบว่าทารก ที่คลอดจากมารดา ที่ติดยาบ้า มักมีความผิดปกติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
8ยาเคมีพิษเฉียบพลัน กระตุ้นทำให้จิตอารมณ์วุ่นวาย และเกิดภาวะประสาทหลอน และเมื่อใช้ขนาดสูง จะทำให้หมดสติ
ปัญหาของยาเสพติด
การระบาดของยาเสพติดที่แพร่หลายอยู่ในประเทศไทยเราขณะนี้เป็นปัญหาที่ดูเหมือนว่า จะไม่มีทางแก้ไขได้สำเร็จ การปราบปรามอย่างรุนแรงทั้งด้วยปืนของตำรวจและด้วยปาก ของนักการเมือง ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้งการแพร่กระจายของยาเสพติดที่แทรกแซง เข้าไปยัง ประชากรทุกหมู่เหล่า ทุกเพศทุกวัยได้เลย ปริมาณยาเสพติดที่ยึดได้หากนำมารวมกันทั้งหมดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน น่าจะนำไปใช้ ถมที่ดินเพื่อก่อสร้างสนามบินแห่งที่สอง เป็นการประหยัดทรายได้มิใช่น้อย
ปัญหายาเสพติดมิใช่ปัญหาของบ้านเราเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของทุกประเทศในโลก ต่างกันแต่เพียงระดับความรุนแรงและประเภทของยาเสพติดเท่านั้น
การแก้ปัญหายาเสพติด จำเป็นต้องเข้าใจสาเหตุ และกลไกการเกิดปัญหา เพื่อที่จะได้ หาทางแก้ไขได้ครบวงจร มิใช่ไปเน้นที่จุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น
ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน มีความเกี่ยวข้องทั้งด้านชีววิทยา, สุขภาพจิต, อาชญากรรม, การเมือง, เศรษฐกิจและสังคม

1. ความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด
สารใดก็ตามที่มีฤทธิ์แบบนี้ต่อผู้เสพ ย่อมทำให้เกิดการเสพติดได้ทั้งสิ้น คนที่ดื่มเหล้าก็ต้องการให้เกิดอารมณ์ครื้นเครง (euphoria) ยาเสพติดชนิดร้ายแรงสามารถทำให้เกิด ความรู้สึกเป็นสุข เคลิบเคลิ้มมากกว่าปกติ ที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า "high" หรือพวกติดยาเสพติดในบ้านเราเรียกว่า "พี้" ในบรรดาสารเสพติดทั้งหลาย เฮโรอีนเป็นสารที่ทำให้เกิดฤทธิ์แบบนี้มากที่สุด เพราะเป็นสารที่ร้ายแรงที่สุดในกลุ่มสารที่ทำจากฝิ่น ในทางการแพทย์มีที่ใช้บ้างคือ ใช้มอร์ฟีนเป็นยาแก้ปวด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง เช่น หลังผ่าตัดหรืออาการปวดจากมะเร็งในระยะท้าย ๆ
ประสบการณ์ของผู้ติดยาเสพติดทั้งหลายต่างยอมรับว่า เฮโรอีน ให้ผลอันพึงประสงค์ ต่อผู้เสพ ได้มากที่สุด โดยเฉพาะเฮโรอีนเกล็ดขาวบริสุทธิ์ที่มีขายในบ้านเรา แต่ในปัจจุบันนี้ ราคาสูงมาก จนทำให้ผู้เสพหันไปใช้สารอื่นที่มีราคาถูกกว่า เช่น สารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งแอมเฟตามีนเป็นตัวที่ขายดีที่สุด สารพวกนี้มีฤทธิ์เสพติดน้อยกว่า และอาการถอนยาไม่รุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากุนแรงเท่าเฮโรอีน แต่ทำให้เกิดอากความต้องการฤทธิ์อันพึงประสงค์ของยาเสพติด ทำให้ผู้ติดยาทั้งหลายไขว่คว้าหามาเสพ ไม่ว่าจะต้องแลกด้วยอะไรก็ตาม และก็มิใช่ว่าจะไม่รู้โทษภัยของมัน แม้ว่าจะตั้งชื่อใหม่ว่า "ยาบ้า" หรือ "ยานรก" ก็ตามที เปรียบดังคนที่มัวเมาหลงใหลในกามรส เกิดอาการหน้ามืด จนไม่กลัวเอดส์ อย่างนั้น
2. บุคลิกภาพของผู้ติดยาเสพติด
พื้นฐานทางจิตใจของคนแต่ละคนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บางคนหันไปพึ่งพายาเสพติด ตัวอย่างในกลุ่มคนที่ดื่มสุรา บางคนดื่มเพียงเล็กน้อยโดยสามารถมีสติพอที่จะหยุดดื่ม หรือผ่อนลง เมื่อรู้ว่าควรหยุด ในขณะที่ผู้ติดสุราจะดื่มจนครองสติไม่ได้ และรู้สึกว่า ถ้าไม่ได้ดื่มถึงขีดนั้นก็อย่าดื่มเสียดีกว่า

ผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีพื้นฐานทางจิตใจที่อ่อนแอ ขาดความมั่นคงในบุคคลิกภาพ มีความต้องการพึ่งพิงผู้อื่นสูง มีวุฒิภาวะต่ำ ขาดความรับผิดชอบ และพยายามเลี่ยงปัญหาที่ต้องเผชิญโดยการใช้ความมึนเมาเป็นข้ออ้าง บางคนมีอาการซึมเศร้าแล้วหันไปดื่มสุรา เมื่อรักษาอาการซึมเศร้าแล้วก็เลิกดื่มสุราได้ บางรายป่วยเป็นโรคจิตอยู่แล้ว และยังชอบใช้ยาเสพติดอีกต่างหาก เมื่อเกิดอาการทางจิตขึ้น ทำให้แยกยากว่าเกิดอาการจากสาเหตุใดแน่ สาเหตุของความบกพร่องทางจิตใจของผู้ติดยาเสพติด เกี่ยวข้องกับพื้นฐานครอบครัว และการเลี้ยงดูในวัยเด็ก เช่น มีครอบครัวที่แตกแยก, ขาดความรักความเข้าใจ, สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี มีชีวิตที่อ้างว้างว้าเหว่, ขาดที่พึ่งทางใจ หรือถูกกดดัน คาดหวังมากเกินไปจนไม่สามารถทนได้



3. พฤติกรรม การเลียนแบบ
ปัจจัยนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ ค่านิยมของสังคมและวัฒนธรรม กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเลียนแบบคนอื่นได้ง่ายได้แก่เด็กและคนที่ขาดเอกลักษณ์ของตนเอง หรือคนที่ไม่มีจุดยืนนั่นเอง
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเลียนแบบเพื่อนได้ง่าย และกลัวว่าตนเองจะแปลกแยกจากกลุ่มเพื่อน จึงมักทำอะไรตามเพื่อนและอาจถูกชักจูงง่าย ประกอบกับเป็นวัยที่มักมีความว้าวุ่น สับสน ทางจิตใจได้มาก จึงพบว่ายาเสพติดแพร่หลายไปได้ง่ายในหมู่วัยรุ่น สังคมไทยเป็นสังคมที่นิยมเลียนแบบคนอื่นมากกว่าจะคิดเป็นตัวของตัวเอง เห็นเขาทำอะไร ก็จะทำตามเขาบ้าง ดังคำพังเพยที่รู้จักกันมานานว่า "เห็นช้างขี้ ก็ขี้ตามช้าง" เห็นฝรั่งใส่ชุดยีนก็ใส่ตามเขาทั้งทีอากาศร้อนแทบตายอยู่แล้ว เห็นเขาดื่มไวน์ก็อยากดื่มตามเขา โดยไม่รู้ว่าเหมาะหรือควรแค่ไหน เวลาไปต่างประเทศจะมีคนส่วนหนึ่งขนเงินไปซื้อนาฬิการาคาแพง, กางเกงยีนบางยี่ห้อ, กระเป๋าบางยี่ห้อ ฯลฯ โดยที่ไม่รู้สรรพคุณด้วยซ้ำว่าสิ่งเหล่านั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ขอให้ได้ทำตามเขาแล้วก็สบายใจ เราจึงพบว่าคนที่ใช้ยาเพสติดส่วนหนึ่งเริ่มต้นจากการเลียนแบบ เช่น เริ่มสูบบุหรี่ เพราะเห็นเจมส์บอนด์สูบแล้วโก้ดี หรือเห็นคนรวยเขาดื่มไวน์ขวดละแสนก็เริ่มดื่มตามเขา จะได้รู้สึกว่ามีความเป็น รัฐมนตรีหรือความเป็นเศรษฐีเกิดขึ้นในตัว บางคนอุตส่าห์เสาะแสวงหาโคเคนหรือยาเสพติดชนิดอื่นที่มีราคาแพง เนื่องจากนำเข้า จากต่างประเทศ เพราะรู้สึกว่าเป็นของสูงหายาก ใช้แล้วจะเป็นคนต่างระดับกับชาวบ้าน ทั่วไป ความจริงแล้วฤทธิ์ของมันสู้ของที่มีอยู่แล้วในบ้านเราไม่ได้เลย
4. ความยากง่ายของการหายาเสพติด
ที่ใดมียาเสพติดซื้อหาง่ายราคาถูก ที่นั่นย่อมมีการระบาดได้ง่าย ประเทศใดมีแหล่งผลิต และขบวนการค้ายาเสพติดที่เป็นล่ำเป็นสัน ประเทศนั้นก็มีปัญหายาเสพติดมาก

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โทษของยาเสพติด

ความหมายของยาเสพติด ยาเสพติดให้โทษ หรือสิ่งเสพติดหมายถึง ยาหรือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือวิธีใดก้ตาม ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ ดังนี้
1.
ต้องการยาเสพติดตลอดเวลา แสดงออกทางร่างกายและจิตใจ
2.
ต้องเพิ่มขนาดของยาเสพติดมากขึ้น
3.
มีอาการหยากหรือหิวยาเมื่อขาดยา (บางท่านจะมีอาการถอนยาเมื่อขาดยา)
4.
สุขภาพทั่วไปทรุดโทรม
ถ้าพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรม 4 ประการ ให้พึงสังเกตว่าอาจจะเป็นคนที่ใช้ยาเสติด
        ประเภทของยาเสพติด
ปัจจุบันสิ่งเสพติดหรือยาเสพติดให้โทษมีหลายประเภท อาจจำแนกได้หลายเกณฑ์ นอกจากแบ่งตามแหล่งที่มาแล้ว ยังแบ่งตามการออกฤทธิ์และแบ่งตามกำกฎหมายดังนี้
ก.จำแนกตามสิ่งเสพติดที่มา
1.
ประเภทที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา
2.
ประเภทที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาม้า แอมเฟตามีน สารระเหย
ข.จำแนกสิ่งเสพติดตามกฎหมาย
1.
ประเภทถูกกฎหมาย เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ บุหรี่ เหล้า กาแฟ ฯลฯ
2.
ประเภทผิดกฎหมาย เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น เฮโรอีน กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน ฯลฯ
ค.การจำแนกสิ่งเสพติดตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
1.
ประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยาระงับประทสาท ยานอนหลับ สารระเหย เครื่องดื่มมึนเมา เช่นเหล้า เบียร์ ฯ
2.
ประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน ยาม้า ใบกระท่อม บุหรี่ กาแฟ โคคาอีน
3.
ประเภทหลอนประสาท เช่น แอล เอส ดี,เอส ที พี,น้ำมันระเหย
4.
ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน อาจกด กระตุ้น หรือหลอนประสาทผสมรวมกันได้แก่ กัญชา
        สาเหตุที่ทำให้เกิดยาเสพติด
 1.
ติดเพราะฤทธิ์ของยา เมื่อร่างกายมนุษย์ได้รับยาเสพติดเข้าไปฤทธิ์ของยาเสพติดจะทำให้ระบบต่างๆของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถ้าการใช้ยาไม่บ่อยหรือนานครั้ง ไม่ค่ยมีผลต่อร่างกาย แต่ถ้าใช้ติดต่อเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งจะทำให้มีผลต่อร่างกายและจิตใจ มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1.1
มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาหรือสารนั้นอีกต่อไปเรื่อๆ
1.2
มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของยาเสพติดขึ้นทุดขณะ
1.3
ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพ จะเกิดอาการอยากยา หรืออาการขาดยา เช่น หาว อาจียน น้ำตาน้ำมูกไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั้ง โมโห ขาสติ
1.4
ยาที่เสพนั้นจะไปทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งร่างกาย ทำให้ซูบผอม มีโรคแทรกซ้อน และทางจิตใจ เกิดอาการทางประสาท จิตใจไม่ปกติ
 2.
ติดยาเสพติดเพราะสิ่งแวดล้อม
2.1
สภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านที่อยู่อาศัย เต้มไปด้วยแหล่งค้ายาเสพติด เช่น ใกล้บรเวณศูนย์การค้า หน้าโรงหนัง ซึ่งเป็นการซื้อยาเสพติดทุกรูปแบบ
2.2
สิ่งแวดล้อมภายในบ้านขาดความอบอุ่น รวมไปถึงปัญหาชีวิตคนในครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมจะทำให้เด้กหันไปพึ่งยาเสพติด การขาดความเอาใจใส่ดูแลจากพ่อแม่ และขาดการยอมรับจากครอบครัว เด็กจะหันไปคบเพื่อนร่อมกลุ่มเพื่อต้องการความอบอุ่น สภาพของกลุ่มเพื่อน สภาพของเพื่อนบ้านใกล้เคียง
2.3
สิ่งแวดล้อมทางโรงเรียน เด็กมีปัญหาทางการเรียน เนื่องจากเรียนไม่ทันเพื่อน เบื่อครู เบื่อโรงเรียน ทำให้หนีโรงเรียนไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ตนพอใจ เป็นเหตุให้ตกเป็นเหยื่อของการติดยาเซบติด
3.
ติดเพราะความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ
ในสังคมที่วุ่นวายสับสน เปลี่ยนแปลงรวดเร้วดังเช่นปัจจุบัน ทำให้จิตใจผิดปกติง่าย หากเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพอ่อนแอในทุกด้าน ทั้งอารมณ์และสติปัญญา รวมทั้งร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะหาสิ่งยึดเหนี่ยว จะตกเป้นทาสยาเสพติดได้ง่าย ผู้ที่มีอารมณ์วู่วามไม่ค่อยยั้งคิดจะหันเข้าหายาเสพติดเพื่อระงับอารมณ์วู่วามของตน เนื่องจากยาเสพติดมีคุณสมบัติในการกดประสาทและกระตุ้นประสาท ผู้มีจิตใจมั่นคง ขาดความมั่นใจ มีแนวโน้มในการใช้ยาเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลของตนให้หมดไปและมีโอกาสติดยาได้ง่ายกว่าผู้อื่น
       วิธีสังเกตผู้ติดยาหรือสารเสพติด
1.
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย สุขภาพทรุดโทรม ผอมซีด ทำงานหนักไม่ไหว ริมฝีปากเขียวคล้ำและแห้ง ร่างกายสกปรกมีกลิ่นเหม็น ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่แว่นดำเพื่อปกปิด
2.
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์หงุดงิดง่าย พูดจาร้าวขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด สุบบุหรี่จัด มีอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด หน้าตาซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่น จิตใจอ่อนแอ ใช้เงินเปลือง สิ่งของภายในบ้านสูญหายบ่อย
3.
แสดงอาการอยากยาเสพติด ตัวสั่น กระตุก ชัก จาม น้ำหมูกไหล ท้องเดิน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดที่เรียกว่า "ลงแดง" มีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายอย่างรนแรงนอนไม่หลับ ทุรนทุราย
4.
อาสัยเทคนิคทางการแพทย์ โดยการเก็บปัสสาวะบุคคลที่สงสัยว่าจะติดยาเสพติดส่งตรวจ ใช้ยาบางชนิดที่สามารถล้างฤทธิ์ของยาเสพติด